ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


UploadImage
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

     ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ “ประชาคมอาเซียน”) เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกได้

     การแข่งขันที่สูงในเวทีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการรวมกลุ่มทางการค้าของประเทศต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2545 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะ ที่เสียเปรียบ

UploadImage
     กระบวนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักในการที่จะทำให้อาเซียนบรรลุสู่การเป็น ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายในปีเป้าหมาย 2558 มีรากฐานมาจากนำความร่วมมือและความตกลงทางเศรษฐกิจที่อาเซียนได้ดำเนินการ มาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ความตกลงด้านการส่งเสริมการลงทุนอาเซียน ความตกลงด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน

     ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากหลักการของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ได้แก่ การประหยัดต่อขนาด การแบ่งงานกันทำ และการพัฒนาความชำนาญในการผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียน

     ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา (2550) ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในแผนงานว่าด้วยการดำเนินงานไปสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมทาง เศรษฐกิจภายในปี 2558 โดยในปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการนำแผนงานดังกล่าวไปปฏิบัติ

UploadImage

     หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และเปิดโอกาสการค้าบริการ ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอา เซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม


ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  กระทรวงการต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น