การรวมตัวกันของประเทศสมาชิก ในกลุ่มอาเซียน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบที่ประเทศสมาชิกได้รับ ย่อมเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการร่วมกลุ่มอาเซียน
ความสำเร็จของอาเซียนและประโยชน์ต่อประเทศไทย
การรวมตัวกันของประเทศสมาชิก ในกลุ่มอาเซียน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบที่ประเทศสมาชิกได้รับ ย่อมเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการร่วมกลุ่มอาเซียน
ภูมิหลังอาเซียน
กำเนิดอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้